8678 จำนวนผู้เข้าชม |
ANSI Standard Chain เป็นโซ่แบบที่ใช้แพร่หลายมากที่สุด เป็นโซ่ที่มีขนาดตั้งแต่เบอร์ เบอร์ 25 – 240
ระยะพิช (Pitch) ของโซ่แต่ละเบอร์ดูจากเลขด้านหน้านับเป็นหุน
เช่น โซ่เบอร์ 80 = 8 หุน = 1 นิ้ว
ดังนั้นระยะพิชของโซ่เบอร์ 80 จะเท่ากับ 25.4 มิล
โซ่ Standard Roller Chain
โซ่ Standard Roller Chain เป็นโมเดลของโซ่ที่ถูกใช้ในทุกภาคอุตสาหกรรมตั้งแต่ โรงงานอุตสาหกรรมการผลิตขนาดใหญ่ โรงไฟฟ้า โรงอาหาร โรงสีข้าว หรือไม่ว่าจะเป็นเครื่องจักรการเกษตรทั่วไปก็ถูกนำมาติดตั้งใช้งาน เนื่องจากเป็นโซ่ประเภทที่มีการใช้งานทุกภาคส่วน เช่น แบรนด์ที่ถูกไว้วางใจที่ทาง bearingbkk เป็นตัวแทนจำหน่ายอย่าง โซ่ KANA จึงมีสินค้าในสต็อคพร้อมส่งทุกขนาดเพื่อให้เพียงพอต่อความต้องการใช้งานของลูกค้าทุกท่าน
วัสดุที่ในการประกอบโซ่ส่วนใหญ่นั้นถูกทำขึ้นมาจากเหล็ก เพราะมีความทนทาน ต้นทุนต่ำ รับแรงดึงได้ดี แต่ก็ยังมีปัญหาในการใช้งานในบางพื้นที่ เช่น ในโรงงานอาหารที่มีความเข้มงวดในกระบวนการผลิตซึ่งคำนึงถึงความสะอาดเป็นหลัก บางจุดที่สัมผัสโดนอาหาร มีความชื้น หรือ โดนน้ำ จะมีการนำโซ่สแตนเลส (Stainless Steel Roller Chain) ที่มีทนทานการกัดกร่อน (Corrosion Resistant) และทนต่อการสึกหรอ (Wear Resistant) เข้ามาใช้ทดแทนโซ่เหล็กที่ต้องมีการใช้สารหล่อหลื่นซึ่งอาจทำให้เกิดการเจือปนกับอาหารได้
โซ่ที่ถูกใช้มากที่สุดจะเป็นโซ่เดี่ยว (Simplex Roller Chain) และโซ่คู่ (Duplex Roller Chain) ในงานที่ต้องใช้การส่งกำลังที่มากขึ้นไปอีกอาจจะใช้แบบ 3 แถว (Triplex Roller Chain) หรือ 4 แถว (Quadruplex Roller Chain) หรือมากกว่า
ระยะพิชเป็นมิลลิเมตร
ข้อมูลอ้างอิงตามขนาดโซ่ตามมาตรฐาน ANSI B 29.1 ระยะพิชเป็นมิลลิเมตร
โซ่ #25 (04C) ระยะพิช 6.35
โซ่ #35 (06C) ระยะพิช 9.525
โซ่ #40 (08A) ระยะพิช 12.70
โซ่ #50 (10A) ระยะพิช 15.875
โซ่ #60 (12A) ระยะพิช 19.05
โซ่ #80 (16A) ระยะพิช 25.4
โซ่ #100 (20A) ระยะพิช 31.75
โซ่ #120 (24A) ระยะพิช 38.10
โซ่ #140 (28A) ระยะพิช 44.45
โซ่ #160 (32A) ระยะพิช 50.80
ข้อดีและข้อเสียของระบบโซ่ส่งกำลัง
ข้อดีของโซ่ส่งกำลัง
มีประสิทธิภาพสูง ให้อัตราทดที่แน่นอน ไม่มีการสลิปเกิดขึ้น
สามารถใช้ถ่ายทอดกำลังได้ดีทั้งระยะไกลและระยะสั้น
ใช้งานได้ดีใน สภาพแวดล้อมที่มี ความชื้น สิ่งสกปรก สารเคมี รวมถึงอุณหภูมิสูงจัด
หลักการติดตั้ง ซ่อมแซม เปลี่ยนอะไหล่ได้ง่าย แค่ถอดโซ่อันเก่า และคล้องอันใหม่เป็นอันเสร็จ
สามารถส่งกำลังให้เพลาได้หลายชิ้นโดยใช้โซ่เพียงเส้นเดียว
ใช้พื้นที่น้อยกว่าระบบส่งกำลังแบบสายพานเมื่อเปรียบเทียบในอัตราทดที่เท่ากัน
ราคาไม่สูง มีสินค้าเพียงพอต่อความต้องการของลูกค้าเสมอ
ข้อเสียของโซ่ส่งกำลัง
ไม่สามารถติดตั้งในแนวเพลาที่ไม่ได้ขนานกันได้
ต้องมีการล่อลื่นเป็นประจำ ขึ้นอยู่กับโหลดและความเร็วที่ใช้ ไม่งั้นอายุการใช้งานอาจจะสั้นกว่าที่ควร
เสียงดังและมีการสั่นสะเทือน เพราะวัสดุที่กระทบกันทำมาจากเหล็ก
หากเพลาไม่ขนาดอาจทำให้โซ่หลุด และเกิดอันตรายได้
หากใช้งานในความเร็วรอบสูงอาจจะทำให้โซ่ขาดและเกิดอันตรายได้
ต้องทำปรับความตึงโซ่ให้ตึงเป็นครั้งคราว