6669 จำนวนผู้เข้าชม |
โซ่ขับเป็นชนิดของระบบส่งกำลังแบบหนึ่งที่ผู้ออกแบบเลือกใช้เป็นอุปกรณ์ในการส่งถ่ายกำลังของเครื่องจักร ได้รับความนิยมในเครืองจักรโรงงานอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท เช่น โรงงานอาหาร โรงน้ำตาล โรงงานทอผ้า หรือ งานอุตสาหกรรมหนัก เช่น โรงโม่หิน หรือ โรงเหล็ก
โซ่ (Roller Chain) จะถูกคล้องอยู่กับตัวเฟืองโซ่ (Sprocket) ที่ติดตั้งอยู่บนเพลาที่ขนาดกันของมอเตอร์ชุดขับและตัวตาม เฟืองโซ่จะถูกยึดให้แน่นด้วยและร่องลิ่ม (Keyway) และเกลียวที่ถูกต๊าปและขันจนแน่น เพื่อรองรับการบิดของมอเตอร์ที่หมุนอย่างต่อเนื่อง
เมื่อเริ่มทำงานแรงบิดจะถ่ายทอดกำลังผ่านโซ่ที่ทำงานกับคู่กับเฟืองไปยังชุดเฟืองตัวตาม เป็นตัวรับแรงกระทำเพื่อให้ชิ้นงานวิ่งในอัตราทดที่ตั้งไว้ โดยส่วนใหญ่จะถูกใช้ในตำแหน่งที่เพลาสองฝั่งมีระยะห่างจากกันค่อนข้างมาก แต่ก็สามารถใช้ในระยะใกล้ได้เช่นกันแล้วแต่ประเภทของงาน
1.แผ่นเชื่อม (Link Plate) แบ่งเป็นแผ่นประกบด้านใน (Inner Plate) และแผ่นประกบด้านนอก (Outer Plate) เป็นชิ้นส่วนสำคัญที่รองรับดึง (Tensile Strength) ที่เกิดจากการหมุนของมอเตอร์ เป็นชิ้นส่วนที่มีความแข็งแรงเปรียบเสมือนกระดูกของมนุษย์ แผ่นเชื่อมด้านนอกมีหน้าที่อีกอย่างคือเป็นตัวเชื่อมระหว่างโซ่ในแต่ละข้อเข้าด้วยกัน
2.สลัก (Pin) จะถูกเชื่อมเข้ากับเพลทในและนอก โดยรับแรงคู่กับกับโรลเลอร์ที่ถูกครอบไว้ด้านนอก มีความแข็งแรงมากที่สุด เพราะต้องทำหน้าที่รับแรงเฉือน แรงบิด แรงดึง และแรงกระชากทั้งหมดที่ถูกถ่ายเทมาจากแผ่นประกบด้านในและด้านนอก
รูปแบบการยึดสลักในประเภทของโซ่มีหลักๆอยู่องแบบคือ ตัวสลักจะถูกทำการกดย้ำ (Riveted – RV) เข้าไปบนด้านนอกของตัวเพลทเพื่อเป็นการยึดชิ้นส่วนทั้งหมดเข้าด้วยกัน
ในโมเดลที่เป็นสูงกว่ามาตรฐานที่ถูกออกแบบมาให้รับแรงได้มากกว่าจะเป็นรูปแบบการใส่ปิ้นคั้นในรู (Cotter Pin – CP) มีหน้าตาคล้ายกิ๊บหนีบทำให้โซ่ทั้งหมดมีความแข็งแรงทนทานกว่าแบบย้ำ
3.โรลเลอร์ (Roller) เป็นชิ้นส่วนที่ครอบบุชกับสลัก มีหน้าที่รองรับแรงกดและแรงกระแทกเมื่อโซ่วิ่งเข้าไปในเฟืองโซ่
4.บุช (Bush) เป็นชิ้นส่วนที่เสริมความแข็งแรงให้กับโครงสร้างของโซ่ จะถูกสวมอยู่ระหว่างโรลเลอร์และสลัก มีหน้าที่รองรับแรงกระทำที่ถูกส่งถ่ายมาจากชิ้นส่วนอื่นๆทำให้โซ่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ในบทความถัดไปเราจะเขียนถึง ประเภทของโซ่ส่งกำลัง และข้อดีข้อเสีย
โปรดติดต่อได้ในบทความถัดไป